ยุครุ่งเรืองของ “กัญชา”

จากพืชยาเสพติด และเป็นผู้ร้ายในสายตาสังคมไทย ปัจจุบัน ภาพลักษณ์ข้างต้นของ กัญชา และกัญชง ได้เปลี่ยนไป ได้รับการมองในฐานะพระเอกมากยิ่งขึ้น จากการเป็นพืชสมุนไพร ใช้รักษาโรค ไปจนถึงการเป็นพืชเศรษฐกิจ เป็นความหวังเพื่อแก้ปัญหาปากท้อง ให้กับคนไทยทั้งชาติ

นี่คือ นโยบาย กัญชาทางการแพทย์ ซึ่งไทยเป็นประเทศแรกของภูมิภาคอาเซียน ที่เดินหน้านโยบายนี้อย่างจริงจัง

นำโดยนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงสาธารณสุข

“เราจะทำทุกอย่าง เพื่อให้กัญชา กลายเป็นพืชเศรษฐกิจ”

เกิดเป็นรูปธรรม ทั้ง 2 มิติ

มิติทางการแพทย์แผนปัจจุบัน กัญชามาตรฐานเมดิคัลเกรดได้ถูกปลูกขึ้นเป็นครั้งแรกของอาเซียนและผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ สารสกัดจากกัญชา ทางการแพทย์ หรือ น้ำมันสารสกัดกัญชาทางการแพทย์ ชนิดหยดใต้ลิ้น ทั้งสิ้น 3 สูตร

ได้ส่งมอบให้แก่กระทรวงสาธารณสุขเพื่อใช้ในคลินิกกัญชาทางการแพทย์นำร่อง12 แห่ง

ซึ่งปัจจุบันกระจายไปยังคลินิกภาครัฐและเอกชนมากกว่า 100 แห่งทั่วประเทศ
และตามมาด้วยการประกาศให้ 16 ตำรับยากัญชาทางการแพทย์แผนไทย สามารถใช้เพื่อใช้เพื่อการรักษาอาการเจ็บป่วย หรือการศึกษาวิจัย เพื่อเพิ่มทางเลือกด้านการรักษาพยาบาล

และให้บริการคลินิกกัญชาแพทย์แผนไทยกว่า 571 แห่ง

ผลการใช้ผลิตภัณฑ์น้ำมันสารสกัดกัญชาทางการแพทย์แผนปัจจุบันในรูปแบบพิเศษ SAS (Special Access Sheme ) ผ่านคลินิกกัญชาทั่วประเทศโดยการติดตามและประเมินประสิทธิผลและความปลอดภัยรวมถึงโครงการวิจัยทางคลินิกของกรมการแพทย์ พบว่า

กัญชามีแนวโน้มได้ผลดีในการใช้กับกลุ่มผู้ป่วยตามข้อบ่งชี้กลุ่มโรคที่กำหนด เช่น การดูแลผู้ป่วยมะเร็งแบบประคับประคอง (palliative care) ด้านการลดการปวด การนอนไม่หลับ เพิ่มความอยากอาหาร รวมถึงลดอาการชักในเด็กที่เป็นโรคลมชักที่รักษายาก เป็นต้น

ณ ปัจจุบัน กระทรวงสาธารณสุข กำลังผลักดัน ให้น้ำมันกัญชา ที่ใช้รักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง พาร์กินสัน ไมเกรน และใช้สารสกัดจากกัญชา ใช้ในผู้ป่วยโรคลมชัก และโรคมะเร็งระยะสุดท้าย เข้าสู่บัญชียาหลักแห่งชาติ ซึ่งจะเป็นทางเลือกด้านสุขภาพแก่ประชาชนต่อไป

มิติด้านเศรษฐกิจ ปัจจุบันมีผู้ได้รับอนุญาตให้ปลูกกัญชา 131 แห่ง พื้นที่ 47,930 ตารางเมตร ในรูปแบบของวิสาหกิจชุมชนร่วมกับ รพ.สต. ส่งให้กับโรงพยาบาลที่มีโรงงานผลิตยาสมุนไพร WHO-GMP ทั้ง 44 แห่ง ภายในเขตสุขภาพเพื่อผลิตยาตำรับที่มีกัญชาปรุงผสม เพื่อจ่ายยากัญชาทั่วประเทศ

และล่าสุด ปรากฎความคืบหน้าอย่างยิ่ง เมื่อกฎหมายคลายล็อกให้ประชาชนนำบางส่วนของกัญชา และกัญชง มาใช้ประโยชน์ได้

ได้แก่ 1.เปลือก ลำต้น เส้นใย กิ่งก้าน ราก 2.ใบไม่มียอดหรือช่อดอก 3.สารสกัดที่มีสารแคนนาบิไดออล (CBD) เป็นส่วนประกอบและมีสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (THC) ไม่เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนัก และ4.เมล็ดกัญชง น้ำมันจากเมล็ดกัญชง หรือสารสกัดเมล็ดกัญชง

ส่งผลให้มีประชาชนจำนวนมาก ได้เริ่มนำวัตถุดิบจากกัญชาและกัญชง ไปเป็นส่วนประกอบในอาหาร และผลิตภันฑ์อื่นๆ เพื่อเพิ่มมูลค่า ภายใต้เงื่อนไขว่าที่มาของวัตถุดิบนั้น ต้องถูกต้องตามกฎหมาย

โดยร้านอาหาร ที่มีกัญชาอยู่ในเมนู กำลังเป็นที่สนใจของสังคมอย่างยิ่ง

ทั้งนี้ ทางกระทรวงสาธารณสุข ได้บูรณาการ การใช้กัญชาทางการแพทย์ และทางเศรษฐกิจ โดยเริ่มนำร่องปลูกกัญชา 6 ต้น ที่บ้านโศกนาค ต.หินเหล็กไฟ อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์ หรือ “โนนมาลัยโมเดล” ซึ่งสมาชิกของวิสาหกิจชุมชน จะได้ปลูกกัญชาครัวเรือนละ 6 ต้น ก่อนนำวัตถุดิบไปใช้ ประโยชน์ แบ่งเป็น ช่อดอก จะมอบให้โรงพยาบาลคูเมืองใช้ผลิตยา ขณะที่ส่วนอื่น จะนำไปผลิตเครื่องสำอางผลิตภัณฑ์สมุนไพร และผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ

โดยล่าสุดได้มีการเปิดสถาบันกัญชาทางการแพทย์ เพื่อเป็นหน่วยงานประสานระหว่างภาคส่วนต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวก ในภาครัฐ และเอกชน ในการขับเคลื่อนนโยบายให้เกิดรูปธรรมสูงสุด

ชัดเจนที่สุดว่า รัฐบาล และกระทรวงสาธารณสุข พยายามอย่างสุดความสามารถ เดินหน้านโยบายของรัฐ เพื่อนำกัญชา มาเป็นทางเลือกด้านสุขภาพ ขณะเดียวกัน ยังเป็นการสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพแก่คนไทย

หวังเปลี่ยนกัญชา และกัญชง จากพืชเสพติด ให้กลายเป็นพืชสมุนไพรใช้รักษาโรค และพืชเศรษฐกิจ ยกระดับปากท้องคนไทย อย่างยั่งยืน

Like_Anutin

Stay Connected

60,860แฟนคลับชอบ
1,699ผู้ติดตามติดตาม

Latest Articles