หากย้อนกลับไป ท่านรองฯ ให้ความสำคัญ กับการผลิตวัคซีนแบรนด์ไทยอยู่ตลอด
เพราะการพึ่งพาตัวเอง ย่อมเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด
ในประเทศไทย
หนึ่งในความภูมิใจของไทย คือ ทีม “จุฬาฯ – ใบยา” ซึ่งท่านรองฯ ได้ลงไปตรวจเยี่ยมโรงงานแล้ว
ทั้งนี้ วัคซีนจุฬาฯ-ใบยา เริ่มพัฒนามาตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2563 ทดสอบในหนูทดลองและลิง พบว่าช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี
แต่เนื่องจากยังไม่มีโรงงานผลิตวัคซีนด้วยพืชในประเทศ กระทรวงสาธารณสุข โดยสถาบันวัคซีนแห่งชาติ
จึงสนับสนุนงบประมาณ 160 ล้านบาท ให้แก่จุฬาฯและบริษัทใบยาในการปรับปรุงพัฒนาโรงงานต้นแบบการผลิตวัคซีนและชีววัตถุโดยใช้พืช
วัคซีนจุฬา-ใบยาจะเริ่มต้นทดสอบในมนุษย์ เฟสที่ 1 ช่วงต้นเดือนกันยายน เบื้องต้นปรัมาณ 100 คน ในขนาดโดส 10 ไมโครกรัม 50 ไมโครกรัม และ 100 ไมโครกรัม
หากทุกอย่างเป็นไปตามแผน คาดว่าในไตรมาส 3 ของปี 2565
สามารถผลิตวัคซีนป้องกันโควิด 19 ฝีมือคนไทยในประเทศเองได้มาก 1-5 ล้านโดสต่อเดือน หรือราว 60 ล้านโดสต่อปี
นอกจากนั้น ยังมีวัคซีนจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้ชื่อ ChulaCov19 เป็นวัคซีนแบบ mRNA ซึ่งได้ผ่านการทดสอบในอาสาสมัครระยะ 1 แล้ว
วัคซีนของทีม ม.มหิดล เป็นวัคซีนแบบเชื้อตาย จะทดสอบในมนุษย์ช่วงเดือนสิงหาคม
วัคซีนของทีม สวทช. ที่จะทดสอบในมนุษย์ภายในปีนี้
แน่นอนว่าทุกทีม
ท่านรองฯ หนุนเต็มที่
เพราะทุกความคืบหน้า ล้วนเป็นทางรอดให้คนไทย