“อนุทิน” เยี่ยมแปลงกัญชา “วิสาหกิจชุมชนเพชรล้านนา” หวังเป็นโมเดลการปลูกภาคประชาชน วางเป้าเป็นพืชเศรษฐกิจทางเลือกใหม่

29 มกราคม 2564 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและคณะผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ได้เดินทางลงพื้นที่ จ.ลำปาง เพื่อติดตามการปลูกกัญชาทางการแพทย์ ณ วิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์เพชรล้านนา ปีการผลิต 2564 ซึ่งเป็นสถานที่ปลูกัญชา ที่ได้มาตรฐานของกระทรวงสาธาณสุข มีรองผู้ว่าราชการจังหวัด จ.ลำปาง และนายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ให้การต้อนรับ ระหว่างการตรวจเยี่ยม นายอนุทิน กล่าวว่า ความสำเร็จในการปลูกกัญชาของวิสาหกิจชุมชนแห่งนี้ จะถือเป็นกรณีศึกษาให้ประชาชนในพื้นที่ต่างๆ มาหาความรู้ และใช้เป็นทางเลือกในการประกอบอาชีพ โดยเฉพาะในวันที่ประชาชนต้องปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์โควิด-19 การมีโอกาสใหม่เข้ามา เพื่อช่วยในการหารายได้ ก็สมควรจะต้องพิจารณา ที่ผ่านมา ตนต้องขอบคุณนายประพัฒน์ ที่ให้กำลังใจเสมอ โดยเฉพาะในวันที่นำเสนอนโยบายกัญชาเพื่อการแพทย์ ซึ่งตามมาด้วยเสียงวิพากษ์วิจารณ์ ที่นายประพัฒน์ออกมาให้กำลังใจว่า อย่าท้อ อย่าถอย ถ้าทำแล้วดีกับประชาชน ต้องเดินหน้าต่อไป ตนจำได้ดีนโยบายกัญชา ได้รับการผลักดันอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ สิ่งที่จะต้องทำความเข้าใจคือ ต้องการให้สังคมมองกัญชา ในฐานะของพืชที่มีคุณประโยชน์ มากกว่าการตีตราว่ามีเฉพาะเพียงโทษ ทั้งนี้ กัญชา จะใช้ให้เกิดคุณค่าได้ ก็ต้องขึ้นกับวิธีการใช้เป็นหลัก แต่ไม่อยากให้ปฏิเสธกัญชาทันทีที่ได้ยินชื่อ พุทธทาสภิกขุ เคยสอนเรื่องหนึ่ง และตนอยากจะนำเรื่องนั้นมาปรับใช้กับกัญชา ท่านสอนว่า เขามีส่วน เลวบ้าง ช่างหัวเขา จงเลือกเอา ส่วนที่ดี เขามีอยู่ เป็นประโยชน์ โลกบ้าง ยังน่าดู ส่วนที่ชั่ว อย่าไปรู้ ของเขาเลย จะหาคน มีดี โดยส่วนเดียว อย่ามัวเที่ยว ค้นหา สหายเอ๋ย เหมือนเที่ยวหา หนวดเต่า ตายเปล่าเลย ฝึกให้เคย มองแต่ดี มีคุณจริง ฯนอกจากนั้น นายอนุทิน ยังให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ และคณะผู้บริหารจากกรมการแพทย์แผนไทย ระบุว่า ขอบคุณที่กรมนี้ช่วยผลักดันนโยบายจนเกิดความคืบหน้า ในอนาคต กรมการแพทย์แผนไทยจะมีความสำคัญมากขึ้น ในฐานะแหล่งรายได้ของกระทรวงสาธารณสุข ขอให้ช่วยกันทำงาน เพื่อทำให้ประชาชนมีทางเลือกที่เป็นประโยชน์ทั้งในเรื่องเศรษฐกิจ และด้านสุขภาพวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์เพชรล้านนา ได้ร่วมกับคณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปลูกกัญชาสายพันธุ์ไทย ระบบแปลงเปิด ใช้กลไกตามธรรมชาติ ในพื้นที่ 3,908 ตรม. จำนวน 2,000 ต้น/รอบ/ปี ได้เก็บเกี่ยวรอบแรกและส่งมอบให้กับโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเด่นชัย จ.แพร่ กองพัฒนายาแผนไทย โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี และโรงพยาบาลคูเมือง จ.บุรีรัมย์ แล้ว 3,664.19 กิโลกรัม ส่วนรอบที่ 2 ปลูกแล้ว 2,000 ต้น (อายุ 3 เดือน)

Stay Connected

60,860แฟนคลับชอบ
1,699ผู้ติดตามติดตาม

Latest Articles